1.ให้ความสนใจกับเรื่องที่ฟัง
เราต้องสร้างความสนใจในเรื่องที่จะฟัง(ถึงแม้ว่าเรื่องนั้นมันจะไม่น่าสนใจ หรือน่าง่วงนอน) เพราะบางครั้งเรื่องที่อาจารย์พูด อาจเป็นจุดสำคํญของเนื้อหา ที่อาจเอาไปออกเป็นข้อสอบเก็บคะแนน หรืออาจจะเอามาถามตอนเราเผลอๆก็ได้นะคะ
2.เมื่อฟัง ก็ต้องฟังอย่างตั้งใจ และมีสมาธิ
เวลาอาจารย์กำลังพูดหรือธิบายอะไร ก็ต้องมีสมาธิอยู่ตรงนั้นนะคะ อย่าวอกแวกหรือจิตหลุด เกิดอาจารย์บอกแนวข้อสอบขึ้นมาแล้วไม่ได้ฟังจะเสียดายแย่ ถ้ารู้ตัวว่าจิตหลุด ให้รีบลอยกลับเข้าร่างค่ะ
3.จับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟัง และคิดวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องราวที่ฟัง
ต้องจับใจความให้ได้ว่า เรื่องที่ฟังเป็นเรื่องอะไร เกิดที่ไหน เรื่องเป็นอย่างไร ฯลฯ ส่วนการวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องราวที่ฟัง คือ เรื่องมันเป็นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ ผลเป็นอย่างไร เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552
หลักสูตร "ครู" คนอยากเรียนน้อยลง
ใครอยากเป็นครูบ้างยกมือขึ้น....
นั่นๆ เห็oหลายคนยกมือกันใหญ่ ดีใจจังที่มีคนอยากเป็นครู เพราะได้ข่าวมาจาก คม ชัด ลึก ค่ะ ว่า ตอนนี้มีคนสนใจเรียนครูกันน้อยลง เพราะหลักสูตรที่ใช้สอนกันอยู่ตอนนี้ยังไม่ปรับปรุงให้ทันยุคเท่าไหร่นัก และการสอบครูอาจจะต้องเพิ่มการสอบความถนัดของวิชาที่เรียนอีกด้วย เพื่อให้มีความรู้ทางวิชาการแน่นๆ
ซึ่งเรื่องนี้ รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ขณะนี้คณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์หลายแห่งกำลังจะตาย เพราะไม่มีคนอยากเรียน และหลักสูตรไม่มีการพัฒนา หากในระยะ 5 ปีจากนี้ การคัดเลือกคนเก่งมาเรียนครู จะใช้เพียงคะแนนความถนัดทางวิชาชีพครู หรือ แพต 5 ไม่เพียงพอ ต้องสอบความถนัดในสาขาวิชาที่เรียนด้วย เพราะผู้ที่จะไปเป็นครูที่ดีนั้น จะต้องมีความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และมีจิตวิญญาณในความเป็นครูควบคู่กันไปด้วย
"ที่สำคัญจะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้ครูมีความรู้ในเนื้อหาสาระที่เข้มข้นทางวิชาการที่จะสอนเด็ก ครูที่จบออกไปจะต้องมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่จะมาเรียนครู จัดหาอัตราการทำงานรองรับ และเพิ่มผลตอบแทนให้แก่วิชาชีพครู ยกวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับแพทย์ หรือผู้พิพากษา หากทำได้คุณภาพของครูทั้งระบบจะดีขึ้น" รศ.ดร.มนตรีกล่าว
อ่านแล้วคิดถึงคุณครูขึ้นมาเลยค่ะ ยิ่งได้เห็นว่ามีคนอยากเป็นครูน้อยลง ก็ยิ่งคิดว่าคุณครูของเราคงต้องเหนื่อยไปอีกหลายปี แล้วเพื่อนหล่ะคะ มีใครอยากเป็นครูบ้างเอ่ย ถ้าได้เป็นครูแล้วอยากสอนวิชาอะไรกันบ้าง หรือใครมีประสบการณ์การสอนมาแล้ว ก็มาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ
นั่นๆ เห็oหลายคนยกมือกันใหญ่ ดีใจจังที่มีคนอยากเป็นครู เพราะได้ข่าวมาจาก คม ชัด ลึก ค่ะ ว่า ตอนนี้มีคนสนใจเรียนครูกันน้อยลง เพราะหลักสูตรที่ใช้สอนกันอยู่ตอนนี้ยังไม่ปรับปรุงให้ทันยุคเท่าไหร่นัก และการสอบครูอาจจะต้องเพิ่มการสอบความถนัดของวิชาที่เรียนอีกด้วย เพื่อให้มีความรู้ทางวิชาการแน่นๆ
ซึ่งเรื่องนี้ รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ขณะนี้คณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์หลายแห่งกำลังจะตาย เพราะไม่มีคนอยากเรียน และหลักสูตรไม่มีการพัฒนา หากในระยะ 5 ปีจากนี้ การคัดเลือกคนเก่งมาเรียนครู จะใช้เพียงคะแนนความถนัดทางวิชาชีพครู หรือ แพต 5 ไม่เพียงพอ ต้องสอบความถนัดในสาขาวิชาที่เรียนด้วย เพราะผู้ที่จะไปเป็นครูที่ดีนั้น จะต้องมีความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และมีจิตวิญญาณในความเป็นครูควบคู่กันไปด้วย
"ที่สำคัญจะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้ครูมีความรู้ในเนื้อหาสาระที่เข้มข้นทางวิชาการที่จะสอนเด็ก ครูที่จบออกไปจะต้องมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่จะมาเรียนครู จัดหาอัตราการทำงานรองรับ และเพิ่มผลตอบแทนให้แก่วิชาชีพครู ยกวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับแพทย์ หรือผู้พิพากษา หากทำได้คุณภาพของครูทั้งระบบจะดีขึ้น" รศ.ดร.มนตรีกล่าว
อ่านแล้วคิดถึงคุณครูขึ้นมาเลยค่ะ ยิ่งได้เห็นว่ามีคนอยากเป็นครูน้อยลง ก็ยิ่งคิดว่าคุณครูของเราคงต้องเหนื่อยไปอีกหลายปี แล้วเพื่อนหล่ะคะ มีใครอยากเป็นครูบ้างเอ่ย ถ้าได้เป็นครูแล้วอยากสอนวิชาอะไรกันบ้าง หรือใครมีประสบการณ์การสอนมาแล้ว ก็มาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
เทคนิค การจำศัพท์ภาษาอังกฤษ ให้ขึ้นใจ
-จัดศัพท์เป็นหมวดหมู่ เช่น คำที่มีความสัมพันธ์กัน หรือมีความหมายตรงข้ามกัน จะช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้น อาจจดบันทึกใส่สมุดที่พกพาได้ เพื่อความสะดวกเมื่อต้องหยิบมาท่องในเวลาว่าง
-นำศัพท์มาใช้บ่อย ๆ ทำให้เกิดความเคยชิน จะจำได้แม่นยำขึ้น จากนั้นลองแต่งประโยคจากคำเหล่านั้น เพื่อฝึกการเรียบเรียงประโยค
-จำศัพท์จากการออกเสียง อาทิ คำที่ออกเสียงคล้าย ๆ กัน นอกจากจะช่วยให้นึกถึงความหมายได้ง่ายแล้ว ยังได้รู้หลักการออกเสียงที่ถูกต้อง
-ท่องศัพท์ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 10 คำ และหมั่นทบทวนบ่อย ๆ ให้คุ้นเคย หากมีโอกาสสนทนากับคนพูดภาษาอังกฤษ ควรลองนำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์จริง -ฝึกฟัง-อ่านภาษาอังกฤษจากข่าวหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วสังเกตหาศัพท์ที่เคยท่อง จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวโดยรวมของเรื่องที่อ่านได้เร็วขึ้น
ป.ล.อย่าลืม เจอฝรั่ง เข้าไปทักทายบ่อยๆ ก็เป็นการฝึกภาษาอังกฤษอีกแบบ :)
-นำศัพท์มาใช้บ่อย ๆ ทำให้เกิดความเคยชิน จะจำได้แม่นยำขึ้น จากนั้นลองแต่งประโยคจากคำเหล่านั้น เพื่อฝึกการเรียบเรียงประโยค
-จำศัพท์จากการออกเสียง อาทิ คำที่ออกเสียงคล้าย ๆ กัน นอกจากจะช่วยให้นึกถึงความหมายได้ง่ายแล้ว ยังได้รู้หลักการออกเสียงที่ถูกต้อง
-ท่องศัพท์ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 10 คำ และหมั่นทบทวนบ่อย ๆ ให้คุ้นเคย หากมีโอกาสสนทนากับคนพูดภาษาอังกฤษ ควรลองนำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์จริง -ฝึกฟัง-อ่านภาษาอังกฤษจากข่าวหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วสังเกตหาศัพท์ที่เคยท่อง จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวโดยรวมของเรื่องที่อ่านได้เร็วขึ้น
ป.ล.อย่าลืม เจอฝรั่ง เข้าไปทักทายบ่อยๆ ก็เป็นการฝึกภาษาอังกฤษอีกแบบ :)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)