วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

9 นิสัยคุมน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

9 วิธีง่ายๆ ที่บรรดาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการหลายคน แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมอาหาร และความเครียดเพื่อให้การลดน้ำหนักของคุณได้ผลอย่างแท้จริง และยั่งยืนมีอะไรบ้าง

1. ความเครียด หากคิดจะลดความอ้วนต้องข่มใจไว้อย่าให้เกิดภาวะเครียดขึ้น เพราะเมื่อเราเครียดทั้งจากเครียดทางร่างกาย เช่น ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงเครียดจากสภาวะอารมณ์ของตัวเอง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน (Hormone) ที่ชื่อว่า “Cortisol” เพื่อมารับมือกับความเครียด (บางตำราจึงตั้งชื่อให้ว่า ฮอร์โมนเครียด”) ซึ่งผลจากการผลิตฮอร์โมน Cortisol นี้ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายเพิ่มการไหลเวียนของกลูโคส โปรตีน และไขมัน รวมถึงส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อกระตุ้นร่างกายให้หิว จึงเป็นเหตุผลที่ว่าผู้ต้องการลดความอ้วนไม่ควรที่จะเครียด

ด้านนายแพทย์ Jacob Seidel แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ จากเมืองBilthon ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่มักมีภาวะเครียดว่า หากรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิดใจ ให้ฝึกสมาธิโดยการหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยผ่อนออกสัก 5-10 นาที ก็จะช่วยบรรเทาสภาวะความเครียดได้ หรือแม้ไม่เครียดแต่อยากผ่อนคลายความเครียดให้กับตัวเอง ก็ฝึกสมาธิด้วยการหายใจอย่างนี้สักวันละ 5-10 นาที ก็จะทำให้สุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้นได้

2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ การดื่มไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ (Alcohol) หลังอาหารมื้อเย็น เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้จู่ๆ กางเกงยีนส์ตัวโปรดของคุณที่ใส่เป็นประจำ..คับไปซะอย่างนั้น เพราะแอลกอฮอล์ลจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มระดับ ฮอร์โมนเครียด “Cortisol” มีสูงขึ้น จนส่งผลให้คุณหิวง่าย และเกิดภาวะอ้วนนั่นเอง หมอ Seidel แนะนำ

3. หยุดสูบบุหรี่ หมอ Seidel ระบุ..แม้จะไม่มีรายงานการวิจัยที่ชัดเจนว่า คนที่สูบบุหรี่จะอ้วนกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ แต่บ่อยครั้งมีการพบว่า เมื่อผู้สูบบุหรี่หยุดหรือลดการสูบบุหรี่ลง ไขมันที่หน้าท้องของเขาจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ยังทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียด และกระตุ้นการผลิตฮอร์โมน Cortisol ด้วย

4. กินอาหารที่มีเส้นใย การกินอาหารที่มีเส้นใยสูง (fiber)ไม่ใช่แค่ทำให้ ควบคุมหรือลดน้ำหนักได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ ลดอาการท้องผูกได้ด้วย J. Cheskin ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมน้ำหนัก จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำว่า ร่างกายควรได้รับปริมาณเส้นใยอาหารจากธัญพืช ผลไม้และผัก ประมาณ 22-25 กรัมต่อวัน

5. ดื่มน้ำมากๆ การควบคุมน้ำหนักควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่าปล่อยให้กระหายหรือร่างกายขาดน้ำอย่างเด็ดขาด ดังนั้นความเชื่อที่ว่า การดื่มน้ำจะทำให้ตัวพองอ้วน จึงเป็นความเชื่อที่ผิด

6. รักษากระดูกให้แข็งแรง สำหรับเรื่องนี้ Willibald Nagler อดีตหัวหน้านักโชนาการจากโรงพยาบาล New York Hospital-Cornell Medical Center ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่า คนที่ลดความอ้วนอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดมาจากควบคุมอาหาร ที่ทำให้ในอนาคตอาจเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกหัก และแตกได้ง่าย ดังนั้นจึงควรดูแลร่างกายให้ได้รับแคลเซียม (Calcium) ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ผัก นม หรือกินอาหารเสริมแคลเซียม เช่น แคลเซียมชนิดเม็ด

7. ทำหัวใจให้แข็งแรง การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้หัวใจแข็งแรง โดยวิธีการบริหารกล้ามเนื้อหัวใจที่ดีที่สุด ก็คือ การออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค (aerobic) 45-60 นาทีต่อสัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายหลายคนจึงแนะนำให้คนเคยอ้วน ที่ส่วนใหญ่มักมีปัญหาด้านหัวใจ เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดปกติ ออกกำลังกายด้วยแอโรบิค

8. ฝึกการหายใจ ควรฝึกหายใจให้ถูกหลักการวิธีง่ายๆ คือ เมื่อหายใจเข้าท้อง พุงจะต้องป่อง และจะยุบเมื่อเราหายใจออก หากใครยังไม่ชิน มีเวลาว่างก็ควรฝึกฝนไปเรื่อยๆ จนร่างกายชินและทำได้โดยอัตโนมัติ เพราะการหายใจที่ถูกวิธีถือเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เลือด เลือดดีจึงสามารถเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดี และยิ่งกล้ามเนื้อดีเท่าไร ระบบเผาผลาญไขมันของเราจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น การหายใจถูกวิธีจึงถือเป็นการช่วยลดความอ้วนได้อีกทางหนึ่ง

9. ให้รางวัลพิเศษกับตัวเอง การให้โบนัส (bonus) กับตัวเองที่สามารถลดความอ้วนได้ ไม่ใช่การกินทุกอย่างตามใจตัวเอง หลังอดอยากปากแห้งกับการลดน้ำหนักมานานหรอกนะ แต่ควรให้โบนัสโดยการควบคุมน้ำหนัก, สัดส่วน และความสมดุลของร่างกายไว้ให้คงที่ รวมถึงการหมั่นฝึกบุคลิกภาพของตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ เช่น นั่งตัวตรง ยืน หรือเดินหลังตรง สง่าผ่าเผย เพราะไม่ใช่แค่การมีรูปร่างผอมเพรียว แล้วจะดูดีไปเสียทุกอย่าง คนผอมหุ่นเฟอร์เฟค (perfect) แต่บุคลิกไม่ดี ก็คงไม่ไหว

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กินของหวาน อย่างไรไม่อ้วน

สาวๆ หลายคนชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ แต่จะกินอย่างไรถึงจะรักษารูปร่างได้เพรียวสวย เรามีเคล็ดวิธีเลือกกินของหวาน ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่สามารถทำได้ไม่ยากมาบอกต่อค่ะ

รู้ปริมาณแคลอรี ก่อนกินควรอ่านปริมาณแคลอรีในขนม โดยดูจากฉลากแสดงข้อมูลโภชนาการข้างกล่อง หากเป็นไปได้ควรเลือกกินหรือซื้อชนิดที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบน้อยที่สุด

ลดแคลอรี การตัดน้ำตาล ครีม ออกจากขนมก่อนกิน เช่น เกลี่ยน้ำตาลไอซิ่งที่โรยหน้าขนมปังออก หรือไม่ใส่กะทิในขนมหวาน จะลดพลังงานได้ถึง 81- 150 แคลอรี หรือเกลี่ยครีมหน้าขนมเค้กออก ลดพลังงานได้ถึง 160 แคลอรี

ควบคุมสัดส่วนการกิน กินอย่างละนิดพอให้รู้รสชาติ เช่น คุกกี้ 1-2 ชิ้น เค้ก 1 ส่วน 4/ชิ้นเล็ก ไอศกรีม 1 ลูก คุณจะได้ชิมรสขนมทั้งหมดโดยได้แคลอรีเพียงครึ่งเดียว

ดื่มชาเขียวหรือกาแฟร้อนหลังมื้อขนม กาเฟอีนจะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน หากต้องการเพิ่มรสชาติให้ใส่น้ำตาลเทียมแทน

15 นาที หลังกินขนมหวานเสร็จอย่านั่งอยู่กับที่ ออกไปเดินเล่นรอบบ้านๆ ประมาณ 15 นาที วิธีนี้นอกจากจะช่วยย่อยแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ไขมันสะสมที่หน้าท้อง ต้นขา และสะโพกได้อีกด้วย

30 นาที หลังกินของหวาน 5 ชั่วโมง ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที เพื่อกำจัดแป้งและน้ำตาลก่อนกลายเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยก่อนและหลังออกกำลังกายควรดื่มชาเขียวร้อนหรือน้ำอุ่นเพื่อเสริมระบบเผา ผลาญควบคู่ไปด้วย

งดแป้งและน้ำตาลในวันรุ่งขึ้น มื้อเช้าและกลางวันเน้นผัก 80% โปรตีน 20% ส่วนมื้อเย็นให้กินผักผลไม้สดและดื่มน้ำเปล่าทั้งวัน